สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบินและการบริการ |
||||
![]() |
||||
![]() |
||||
ชื่อเต็ม : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมการบินและการบริการ) |
||||
![]() |
||||
มุ่งผลิตบัณฑิตที่บูรณาการความรู้กับการทำงานในสถานการณ์จริงด้านอุตสาหกรรมการบินและการบริการให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีด้านอุตสาหกรรมการบินและการบริการ พร้อมนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก บนพื้นฐานของบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตบริการอย่างมืออาชีพระดับสากล
|
||||
![]() |
||||
รูปแบบของหลักสูตรฯ 1. รูปแบบ
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ (หลักสูตร 4 ปี แผน 2+2) ระหว่างคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด (บริษัทในกำกับของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Work-integrated Learning (WIL) และเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ในการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตสู่อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ทางด้านอุตสาหกรรมการบินและการบริการ ในยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรที่ผ่านการรับรองจากสถาบันการบินพลเรือน (CAAT) และ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด (บริษัทในกำกับของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)) เมื่อสำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้น จำนวน 8 ใบ ดังนี้
- วิชามนุษย์ปัจจัยทางด้านการบิน (Human Factors in Aviation)
- วิชาระบบการจัดการความปลอดภัยทางการบิน (Safety Management System)
- วิชาการป้องกันความปลอดภัยทางการบิน (Aviation Security)
- วิชาการจัดการคลังสินค้า (Air Cargo Management)
- วิชาการสำรองที่นั่งและการออกบัตรโดยสาร (Reservation and Ticketing)
- วิชาความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉินด้านการบิน (Safety and Emergency)
- วิชากฎระเบียบเกี่ยวกับวัตถุอันตราย (Dangerous Goods Regulations)
- ประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพทางด้านการบิน TPQI: Thailand Professional Qualification Institute จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เมื่อเรียนครบตามหลักสูตรและผ่านการทดสอบมาตรฐานที่กำหนด
2. ภาษาที่ใช้
ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยคิดเป็นสัดส่วน ดังนี้
2.1 รายวิชาทางด้านอุตสาหกรรมการบินและการบริการ ที่จัดสอนโดยบริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด คิดเป็นสัดส่วน ภาษาอังกฤษร้อยละ 70 ภาษาไทยร้อยละ 30
2.2 รายวิชาทั่วไป ที่จัดสอนโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คิดเป็นสัดส่วน ภาษาอังกฤษร้อยละ 50 ภาษาไทยร้อยละ 50
3. การรับนักศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้
4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรร่วมผลิตปริญญาตรีทางวิชาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ.2558 กับ บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัด (บริษัทในกำกับของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน))
|
||||
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
|
||||
|
||||
|